วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลาหมอสี


การเลี้ยงดู ปลาหมอสีเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย มีความ อดทนและกินอาหารง่าย ซึ่งเป็นอาหารจำพวก ไร ทะเล ไรน้ำนางฟ้า หนอนแดง กุ้งฝอย ปลาขนาด เล็ก ไส้เดือน หรืออาหารสำเร็จรูป หากต้องให้ปลา มีสีสันเด่นชัดก็อาจให้อาหารประเภทเร่งสี โดยแนะ นำว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ที่มีสารเบต้าแคโรทีน สามารถเร่งสีปลาหมอสีได้ดีที่สุดในจำนวนอาหาร ปลาทั้งหมด โดยสามารถดูได้จาก ตารางเปรียบของเทียบคุณค่าทางอาหาร
ปลาหมอสีที่เลี้ยงด้วยไรน้ำนางฟ้า
ปลาหมอสี เป็นปลาที่นิสัยรักหวงถิ่นที่อยู่ และก้าวร้าวจะไล่กัดปลาตัวอื่นๆทันทีที่เข้ามาใกล้ในบริเวณอาณาจักรของตัวเองที่ทำไว้ ดังนั้นการเลี้ยงปลาหมอสีหลายพันธุ์รวมกันในตู้ต้องคำนึงถึงขนาดของปลาด้วย ควรจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ตู้ควรมีขนาดใหญ่ และมีก้อนหินจัดวางไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาตระกูลอื่น เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา(ปลาในตระกูลปอมปาดัวร์) ฯลฯ
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
การย้อมสี หมายถึง การใช้ฮอร์โมนเพศไปเร่งสีปลานั่นเอง โดยส่วนใหญ่ที่ใช้คือฮาโลคริสติก ซึ่งก็คือยาฮอร์โมนเพศชายนั่นเอง โดยมีขายตามร้านขายยาทั่วไป การใช้ก็นำมาคลุกกับอาหารปลาให้ปลา่กินและนี่ก็เป็นวิธี การเร่งสีปลาให้มันเกิดขึ้นเร็วเกินกว่าวัยสมควรจะเป็น ซึ่งการย้อมสีนี้แบ่งได้อีกหลายแบบ ถ้าจะย้อมสีแดงก็ใช้โปรตีนเรด โปรตีนพิ้งค์ นำมาคลุกกับอาหารในอัตราส่วนที่พอเหมาะให้ปลากินและปลาก็จะเปล่งสีสันออกมาพอสมควรเพราะสารโปรตีนพวกนี้จะไม่มีอันตรายและพิษภัยใดๆ แต่ถ้าเป็นพวกฮอร์โมนเพศ ถ้าให้ปลากินตั้งแต่ยังเล็กและเป็นเวลานานๆ จะทำให้ปลาเหล่านี้เปลี่ยนเป็นเพศผู้เพราะฮอร์โมนตัวนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนรังไข่ ทำให้รังไข่ฝ่อและจะทำให้ครีปของปลาตัวเมียยาวเหมือนตัวผู้ ดังนั้นการเร่งสีปลาที่ปลอดภัยที่สุดควรเลี้ยงด้วย ไรน้ำนางฟ้า ซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติจึงจะดีที่สุดครับ
หน้า
| 1 | 2 |
กลับหน้าหลัก












การเลี้ยงปลาดุกอุย

ปลาดุกอุย ( Clarias macrocephalus ) เป็นปลาพื้นบ้านของไทยชนิดไม่มี เกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 เส้น ที่ริมฝีปาก ผิวหนังมีสีน้ำตาล เนื้อมีสีเหลือง รสชาติอร่อยนุ่มนวลสามารถนำมาปรุงแต่งเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ได้มากมาย ในประเทศ ไทยมีพันธุ์ปลาดุกอยู่จำนวน 5 ชนิด แต่ที่เป็นที่รู้จักทั่ว ๆไปคือ ปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน ( Clarias batrachus ) ซึ่งในอดีตทั้งปลาดุกอุยและปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
เมื่อไม่นานมานี้เองเกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งเข้ามาเลี้ยงใน ประเทศไทย ซึ่งอธิบดีกรมประมงได้มีคำสั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ดำเนินการศึกษาพบว่าเป็นปลาในตระกูล แคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า ( Clarias gariepinus African sharptooth catfish ) เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใจรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ
จากการศึกษาทางลักษณะรูปร่างและชีววิทยาของปลาดุกเทศทางกลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ปลาโดยนำมาผสมพันธุ์กับปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ ผลปรากฏว่าการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมียผสมกับปลาดุกเทศเพศผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ดี ลูกที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย จึงทำให้เกษตรกรนำวิธีการผสมข้ามพันธุ์ไปปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งลูกหลานที่เกิดจากคู่ผสมนี้ทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย-เทศ แต่โดยทั่ว ๆไปชาวบ้านเรียกกันว่า บิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ ส่วนการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศผู้กับปลาดุกเทศเพศเมีย ลูกที่ได้ไม่แข็งแรงและเหลือรอดน้อย เมื่อเทียบกับการเพาะพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาบิ๊กอุย ส่วน การผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกด้านกับปลาดุกเทศ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
ในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าปลาดุกลูกผสมอุย-เทศหรือบิ๊กอุยนั้นเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเป็นที่นิคมบริโภคของประชาชน เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก
ข้อแตกต่างระหว่างปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ
การเพาะผสมเทียมปลาดุกบิ๊กอุย
การอนุบาลลูกปลา
การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
ขั้นตอนการเลี้ยง
วิธีป้องกันการเกิดโรคในปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยง
โรคของปลาดุกเลี้ยง
สารเคมีและยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้ป้องกันและรักษาโรคปลา
ปริมาณและผลผลิต
ราคาจำหน่ายผลผลิต
การเปรียบเทียบต้นทุนในการเลี้ยงปลาดุก
ตลาด
แนวโน้มตลาด
ปัญหาและอุปสรรค

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไข้หวัดนก


เป็น โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Avian Influenza virus type A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมี surface antigens ที่สำคัญ ได้แก่ haemagglutinin (H) มี 15 ชนิด และ neuraminidase (N) มี 9 ชนิด เชื้อไวรัส Influenza แบ่งเป็น 3 type ได้แก่

Type A แบ่งย่อยเป็น 15 subtype ตามความแตกต่างของ H และ N antigen พบได้ในคนและสัตว์ต่างๆ เช่น สุกร ม้า และสัตว์ปีกทุกชนิด

Type B ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน

Type C ไม่มี subtype พบเฉพาะในคนและสุกร
อาการ โรคไข้หวัดนก อาการที่แสดงนั้นมีความผันแปรตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อไวรัส และสัตว์ที่ได้รับเชื้อ สัตว์อาจจะไม่แสดงอาการป่วย แต่จะมีระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น (Seroconverion) ภายใน 10-14 วัน จึงสามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรค สัตว์อาจจะแสดงอาการดังนี้

กินอาหารลดลง

ปริมาณไข่ลดในไก่ไข่

นอกจากนี้อาจจะมีอาการ ไอ จาม ขนร่วง มีไข้ หน้าบวม ซึม ท้องเสีย

ในรายที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงอาจตายกระทันหัน ซึ่งมีอัตราตายสูง 100 % ไวรัสชนิดนี้อาจทำให้สัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ป่วยด้วย เช่น เป็ด นกกระทา ไก่งวง เป็นต้น
แหล่งของไวรัส สัตว์ปีกทุกชนิดมีความไวต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สามารถที่จะแยกเชื้อได้จากนกน้ำ รวมทั้ง นกชายทะเล นกนางนวล ห่าน และนกป่า เป็ดป่าสามารถที่จะนำเชื้อไวรัสชนิดนี้ โดยที่จะไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญในสัตว์ปีก ความเสี่ยงของการระบาดโรคไข้หวัดนกจากนกน้ำ โรคไข้หวัดนกมีการระบาดในนกป่าและเป็ด นกน้ำเป็นแหล่งของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ไก่งวงยังเป็นแหล่งกักโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาโรคไข้หวัดนกได้ ความเสี่ยงของไก่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันที่มีโอกาสสัมผัสกับนกน้ำเป็นความเสี่ยงสูง แต่ยังไม่ทราบว่าปัจจัยใดที่ส่งผลให้การระบาดไม่แน่นอนในแต่ละพื้นที่นั้น
วิธีติดต่อของโรค
1.
การติดต่อของโรคจากการสัมผัสกับอุจจาระ เป็นวิธีติดต่อที่สำคัญระหว่างนกด้วยกัน นกป่าจะ เป็นตัวนำเชื้อไวรัสไข้หวัดนกไปยังนกในโรงเรือนที่เปิดได้ โดยผ่านทางการปนเปื้อนของอุจจาระ
2.
การติดเชื้อโดยทางการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรค (Mechanical Transmission) มูลของนกเป็นแหล่งของเชื้อไวรัสที่สำคัญ การขับเชื้อไวรัสทางมูลเป็นเวลา ๗–๑๔ วัน หลังการติดเชื้อ แต่ไม่พบเชื้อไวรัสในสิ่งปูรองได้ในระยะเวลานานถึง ๔ สัปดาห์หลังการติดเชื้อ ไวรัสสามารถจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง ๑๐๕ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง ดังนั้น วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ คน และสัตว์ เช่น นกป่า หนู แมลง นกกระจอก จึงเป็นปัจจัยในการกระจายของโรคได้
3.
การติดเชื้อจากการหายใจเอาสิ่งคัดหลั่งของตัวป่วย ก็เป็นได้
4.
ไวรัสไข้หวัดนกสามารถพบในเปลือกไข่ชั้นในและชั้นนอก อย่างไรก็ตาม การติดต่อจากแม่ไก่ผ่านมายังลูกไก่ทางไข่ (Vertical transmission) ยังไม่มีการรายงาน ส่วนการติดโรคผ่านไข่ไปยังฟาร์มอื่นนั้นมักเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อที่เปลือกไข่ หรือถาดไข่ และจัดเป็นการติดต่อที่สำคัญวิธีหนึ่ง
การติดต่อโรคจากสัตว์ปีกมาสู่คน การติดต่อโรคนี้จากสัตว์ปีกมาสู่คน เป็นไปได้ยาก จากข้อมูลการเกิดโรคในคนที่ประเทศฮ่องกง และประเทศอื่นๆ พบว่าเป็นการติดต่อโดยตรงจากตัวสัตว์ปีกมีชีวิต ไม่มีรายงานการติดต่อมายังคน โดยการบริโภคเนื้อไก่ และ ไข่
มาตรการการป้องกันการแพร่กระจายของโรค โรคไข้หวัดนก ในฟาร์มที่มีโรคระบาด ประกอบด้วย ๓ หลักการที่สำคัญ คือ
1. การป้องกันการกระจายของเชื้อ

1.
ไม่ให้มีการนำสัตว์ปีกเข้าไปในสถานที่ซึ่งมีการระบาดของโรคภายหลังจากการกำจัดสัตว์ป่วย ในระยะเวลา 21 วัน

2.
กำจัดวัชพืชรอบโรงเรือน และกำจัดสิ่งปูรองตลอดจนอาหารของสัตว์ป่วยนั้น

3.
มีโปรแกรมควบคุมพาหะของโรค เข่น แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หนู และนก เนื่องจากสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นตัวนำพาเชื้อโรคจากอุจจาระของสัตว์ป่วยไปยังที่ต่างๆได้

4.
ป้องกันการสะสมของแหล่งน้ำภายในฟาร์ม ซึ่งเพิ่มปริมาณของนกที่เคลื่อนย้ายเข้ามา และมีโอกาสเป็นสื่อให้การแพร่กระจายของโรคขยายวงออกไป

5.
จำกัดแหล่งอาหารซึ่งเป็นปัจจัยให้นกเคลื่อนย้ายมาอาศัย

6.
ให้ความรู้พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังที่ต่างๆ
2. การควบคุมการเคลื่อนย้าย

1.
จัดระบบควบคุมการเข้า-ออกฟาร์มของบุคคลภายนอกและบุคคลภายในฟาร์ม

2.
ลดการเคลื่อนย้ายระหว่างภายในฟาร์มและภายนอกฟาร์ม โดยใช้ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์และโทรสาร

3.
ให้ใช้มาตรการทำลายเชื้อโรคคนที่เข้า-ออกฟาร์ม

4.
ไม่อนุญาตให้พนักงานขับรถยนต์ พนักงานขนส่งเข้า-ออกฟาร์มโดยที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
3. การรักษาสุขอนามัย

1.
ใช้ยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรค และควบคุมไม่ให้มีการปนเปื้อนอุจจาระไปกับรถหรือยานพาหนะ

2.
ล้างวัสดุ อุปกรณ์และยานพาหนะด้วยผงซักฟอก และยาฆ่าเชื้อ
ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในการควบคุมและลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัส คือ
1.
Formaldehyde
2.
Iodine compound
3.
Quaternary ammonium compound
4.
สารที่เป็นกรด
5.
ความร้อน 56 องศา C เวลา 3 ชั่วโมง หรือ 60 - 70 องศา C เวลา 30นาที
6.
ความแห้งข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทความเริ่มต้น




ถึงไม่หล่อไม่รวยก็ตามแต่แต่ก็เกิดจากใจใช่มุสา